
ในขณะที่หลายๆ บทความมักจะพูดถึงการเป็นผู้นำ เจ้านาย หรือหัวหน้างานที่มักจะเต็มไปด้วยข้อเสียที่ต้องปรับปรุง แต่ในอีกมุมหนึ่งไม่ใช่แค่ลูกน้องหรอกที่อย ากมีเจ้านายดีๆ
อีกมุมหนึ่ง เจ้านายเองก็อย ากมีลูกน้องที่น่ารัก ทำตามคำสั่ง พูดง่าย เข้าใจง่ายมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่แบบที่คนเป็นเจ้านายไม่ต้องมาป ว ดหัว
เพราะถ้าหากลูกน้องทำงานไม่เต็มที่จะว่ากล่าวตักเตือน ก็อาจจะถูกมองว่ารุ น แ ร งไปกลายเป็นถูกเ ก ลี ย ดกลับมา เพราะฉะนั้นวันนี้เพื่อให้หัวหน้าทุกคนสามารถคุมลูกน้องได้อย่างอยู่หมัด เรามีเคล็ดลับการรับมือกับลูกน้องแต่ละประเภทมาฝากกัน
1. ลูกน้องจอมดื้อ
ลูกน้องประเภทที่สั่งงานอะไรก็ย ากเย็น ปกครองลำบาก เถียงคำไม่ตกฟาก พูดอะไปก็ไม่ฟังถึงฟังก้แอบต่อต้านในใจ แบบนี้มันน่าจะลบทิ้งจากกระดานจริงๆ แต่ถ้าลูกน้องคนนั้นฝีมือดีล่ะ?
วิธีแก้ : พฤติกรรมที่เจ้านายหรือหัวหน้าทุกคนควรทำก็คือ ตั้งสติ ใจเย็นแล้วลองเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเขาให้มากที่สุด และอาจจะเสนองานให้เขาดูแลเองไปเลย 1 โปรเจคต์โดยไม่ต้องเข้าไปก้าวก่ายกับวิธีการทำงาน มอบอิสระให้กับเขานั่นเอง
2. ลูกน้องที่อายุมากกว่า
ผู้ใต้บังคับบัญชาที่อายุมากกว่า ทำให้คนเป็นลูกน้องอาจจะแข็งขืนกับหัวหน้าได้ซึ่งลูกน้องประเภทนี้มักจะมีความมั่นใจสูง คิดว่าตัวเองมีประสบการณ์มากกว่าทำให้หัวหน้าอาจจะปกครองได้ลำบากสักหน่อย
วิธีแก้ : ทางที่ดีให้พย าย ามรับฟัง เปิดใจ และให้โอกาสเขาได้นำเสนอประสบการณ์ของเขาอาจจะมีคำพูดเป็นพิเศษเมื่อมีการมอบหมายหน้าที่ให้เขาทำ และดูอยู่ห่างๆว่าคุณจะช่วยซัพพอร์ตในการทำงานของเขาได้ยังไงบ้ าง
3. ลูกน้องจอมขี้เกียจ
มีเยอะเลยทีเดียว ลูกน้องที่วันๆ เอาแต่เม้ากับเพื่อนร่วมงาน ดูซีรีส์ เล่นเกม อู้งานหรือไม่ใส่ใจกับงานเท่าที่ควร ทำงานแบบผักชีโรยหน้า นายมา งานเดิน…..
วิธีแก้ : เจอลูกน้องแบบนี้ หัวหน้าต้องงัดไม้เด็ดออกมาใช้ โดยการมอบหมายงานให้ทำและกำหนดวันส่งงานให้ชัดเจน ที่สำคัญคือมีข้อตกลงร่วมกันเช่น ถ้าทำตามกำหนดไม่ได้ก็ให้ทำโทษ เช่น ตัดเงินเดือน หรือสั่งพักงาน เป็นต้น
4. ลูกน้องขี้กลัว
ลูกน้องที่ขี้กลัว ขี้กังวล ไม่มั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองจะทำอะไรต้องขออนุญาตหรือติดต่อมาสอบถามเราตลอด ซึ่งทำให้เสียเวลา เสียงานเสียการโดยไม่จำเป็น
วิธีแก้ : ทางที่ดีต้องคอยพูดชมเมื่อลูกน้องทำงานได้ดี คอยให้กำลังใจเขาเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กล้าเผชิญกับงานตรงหน้า พย าย ามพูดให้เขาเข้าใจว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้แต่ตราบใดที่เราวางแผนมาดี มีการเตรียมการรองรับปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลจนเกินเหตุ
5. ลูกน้องพูดเก่ง แต่ทำไม่ได้
สำหรับใครที่กำลังป ว ดหัวกับลูกน้องที่ดูเหมือนว่าจะท่าดีทีเหลวอยู่ล่ะก็
วิธีแก้ : แนะนำให้โยกย้ายไปทำตำแหน่งอื่นที่จะช่วยให้สกิลของเขาสามารถเกิดประโยชน์ได้สูงสุดไม่ว่าจะเป็น ย้ายไปทำตำแหน่งเซล หรือเวลามีการพรีเซนต์อะไรก็ให้เขาเป็นคนจัดการซึ่งการจัดคนให้ตรงกับความสามารถและจุดเด่นที่มีก็จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้บริษัทดีขึ้นได้อีกด้วย
6. ลูกน้องช่างประจบประแจง
หัวหน้าหลายคนอาจจะชอบใจเวลาที่มีลูกน้องมาเอาอกเอาใจ แต่ทราบหรือไม่ว่าเป็นอั น ต ร า ยมากสำหรับลูกน้องขี้ประจบเพราะหัวหน้าบางคนอาจจะรู้ไม่ทันลูกน้องและมองว่าคนๆนั้นดีกว่าคนอื่นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำขึ้นในบริษัทเพราะพนักงานด้วยกันเองจะดูออกว่าพนักงานคนนั้นนิสัยเป็นยังไง งานที่ทำ ทำจริงหรือปล่า
วิธีแก้ : ให้หัวหน้าแสดงให้ลูกน้องคนอื่นๆ เห็นว่า การที่ลูกน้องบางคนเข้ามาตีสนิทกับเรานั้นไม่ได้ช่วยให้มีผลต่อการทำงาน หรือการเลื่อนขั้นแต่อย่างใดหัวหน้าทั้งหลายต้องเทคแอคชั่นตรงนี้ ให้ได้ ไม่ควรปล่อยวางเพราะจะทำให้ลูกน้องคนอื่นไม่สบายใจ และเกิดปัญหาได้
ที่มา : s m a r t s m e